วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปบทความ เรื่อง ทำอย่างไรให้ลูกรักคณิตศาสตร์

ทำอย่างไรให้ลูกรักคณิตศาสตร์

     ผู้ปกครองสามารถสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์และพัฒนาทักษะกระบวนการดังกล่าวนี้ให้กับลูกรักของตนเองได้ ขอเพียงให้ผู้ปกครองมีเวลาอยู่ใกล้ชิดลูก หากิจกรรมง่ายๆ ทำร่วมกัน เช่น ใช้เวลาระหว่างการเดินทางไปส่งลูกที่โรงเรียนในช่วงเช้า-เย็น มีกิจกรรมในช่วงค่ำหรือช่วงวันหยุดอาจเป็นช่วงเวลาดูโทรทัศน์ร่วมกัน ถามปัญหาที่ต้องใช้เหตุผลมาคุยกันบ้าง ในกิจกรรมหนึ่งๆ ลูกอาจได้พัฒนาทักษะกระบวนการไปพร้อมๆ กันหลายทักษะ ซึ่งหมายถึงได้พัฒนาทักษะพื้นฐานอื่นๆ อีกด้วยเช่น ทักษะการสังเกต การคาดคะเนและการประมาณ

 ผู้ปกครองสามารถนำเรื่องราวในชีวิตประจำวันมาผูกโยงเป็นปัญหาที่เหมาะสมกับลูกได้เช่น การได้โต้ตอบปัญหากัน ผู้ปกครองมีส่วนกระตุ้นให้ลูกได้คิดเป็นระบบ ใช้เหตุผลที่สมเหตุสมผล ผู้ปกครองรู้เป้าหมายของกิจกรรม แต่ลูกได้ฝึกทักษะกระบวนการคิดและการแก้ปัญหาไปโดยไม่รู้ตัว
    
     คำตอบของลูกทุกคำตอบ เป็นความคิดสร้างสรรค์ทั้งนั้น จะเป็นคำตอบที่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ไม่ใช่สิ่งสำคัญสำหรับผู้ปกครองมากนัก แต่สิ่งสำคัญยิ่งกว่า คือ ลูกของเรารู้จักคิด พยายามหาวิธีแก้ปัญหา วิธีคิดของลูกเป็นการพัฒนาด้านทักษะและกระบวนการทั้งสิ้น
     ท่านผู้ปกครองพอจะเห็นแนวทางที่จะช่วยลูกรักให้รักคณิตศาสตร์ มีการพัฒนาการคิดและการแก้ปัญหาทางคณิต-ศาสตร์ได้บ้างแล้ว ขอเพียงให้ท่านมีเวลาและใช้โอกาสนี้อยู่ใกล้ชิดกันนั้นเล่นหรือคุยกับลูกโดยมีสาระทางคณิตศาสตร์บ้างเท่านั้น



การบันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่2 วันศุกร์ ที่ 15 มกราคม พ.ศ.2559 เวลาเรียน 13.30- 17.30 น.



เนื้อหาที่เรียน 

การสอนคณิตศาสตร์แบบลงมือทำโดยอาจารย์แจกกระดาษเปรียบเทียบจำนวน
อาจารย์ผู้สอนทำกิจกรรมให้ดูเป็นตัวอย่างโดยที่จำนวนนักเรียนในห้องมี 18 คน แต่อาจารย์แจกกระดาษ 8 แผ่น ในกิจกรรมนี้จะเหลือ10 คน ที่ไม่ได้กระดาษ
อาจารย์แจกกระดาษ 1 แผ่น พร้อมให้ 3 หัวข้อใหญ่ คือ
 1. เด็กปฐมวัย
 2. การจัดประสบการณ์
3. คณิตศาสตร์
 ให้ทำเป็น mind mapping พร้อมกับแตกหัวข้อย่อย

ความรู้ที่ได้รับ 

จากที่อาจารย์ได้สอนโดยการให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ทำให้เราเข้าใจชัดเจนมากยิ่งกว่าการอธิบายบนกระดาน เพราะการที่ได้เรียนรู้และลงมือทำจะทำให้เราจำได้และรู้จักคิดมากยิ่งกว่าเดิมและยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อีกด้วย


ทักษะที่ได้รับ

ได้ทราบว่าการสอนแบบลงมือปฏิบัติจริงนั้นมันจะชัดเจนยิ่งกว่าการอธิบายเพราะเราจะมีส่วนร่วมในการเรียน การอธิบายนั้นควรอธิบายที่ไม่เข้าใจยากโดยการให้เด็กลงมือทำไปพร้อมๆกับครู การสอนแบบลงมือปฏิบัติยังช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี


การนำมาประยุกต์ใช้ 

นำการสอนของอาจารย์ที่สอนมาปฏิบัติกับเด็กได้ในอนาคต และยังทราบอีกว่าวิธีการสอนที่จะทำให้เข้าใจมากขึ้นคือการสอนแบบลงมือทำ เราสามารนำวิชาคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่นการที่เราจะสอนให้เด็กรู้จักการเปรียบเทียบอย่างเช่นตัวอย่างคือ
 - เรานับจำนวนกล่องนม 20 กล่องใส่ในกาละมัง ต่อนักเรียน 15 คน
 - ให้นักเรียนเข้าแถวมาหยิบนมคนละกล่อง
 -เมื่อเด็กนักเรียนหยิบครบทุกคนแล้ว จะทำให้เห็นว่านมเหลืออยู่ในกาละมัง 5 กล่อง
 -เราก็ถามเด็กว่า ที่นมเหลือเพราะอะไร ? จะทำให้เด็กเกิดการคิดวิเคราะห์ พร้อมหาเหตุผลมาตอบว่าเพราะอะไร


บรรยากาศในห้องเรียน

ห้องเรียนเป็นไปด้วยความสนุกสนานไม่ตึงเครียดเพราะการสอนของอาจารย์เน้นพัฒนาให้เราได้เรียนรู้ด้วยตนเองทำให้เราคิดและตอบปัญหากับอาจารย์ได้อย่างไม่ตึงเครียด ทำให้เกิดการอยากเรียนรู้


ประเมินวิธีการสอน 

วิธีการสอนแบบลงมือปฏิบัติทำให้เข้าใจง่ายมากยิ่งกว่าการเรียนการสอนแบบอธิบายเพราะทำให้ไม่อยากเรียน และไม่เกิดการเรียนรู้ การเรียนการสอนของอาจารย์ดึงดูดความสนใจและยังกระตุ้นให้เกิดการอยากเรียนรู้พร้อมกับให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม

คุณธรรมจริยธรรม

- ตั้งใจเรียน
- มีมารยาท ไม่พูดเมื่ออาจารย์กำลังสอน
- รับผิดชอบงานที่อาจารย์มอบหมาย


การประเมิน 

ตนเอง: ตั้งใจเรียนไม่เสียสมาธิ พร้อมกับจดโน้ตย่อไว้เพื่อทบทวนความจำของตนเอง
เพื่อน: มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้ทุกคน ตั้งใจเรียน
อาจารย์ผู้สอน: อาจารย์สอนได้เข้าใจง่ายและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ไม่ตึงเครียดมากเกินไป เละอธิบายงานได้อย่างเข้าใจชัดเจน







วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปวิจัย การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่2 โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคปHigh/Scope)

สรุปวิจัย

ชื่อเรื่อง:การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตรสําหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปที่ 2โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคป  (High/Scope)
 ผูศึกษาคนคว้า: นางศิริพรรณ  สิทธิพูนอนุภาพ 




สรุป

  • คณิตศาสตรมีบทบาทสําคัญยิ่งตอการพัฒนาความคิดของคนเรา คณิตศาสตรชวยทําให้มีความคิดสรางสรรค คิดอยางมีเหตุผลคิดอยางเปนระบบและมีระเบียบแบบแผนสามารถวิเคราะหปญหาไดอยางรอบคอบตัดสินใจและแกปญหาไดถูกตองเหมาะสม 
  • การเรียนคณิตศาสตรสําหรับเด็กปฐมวัยเปนการเรียนรู้ด้วยการสรางเสริมประสบการณ์ซึ่งเด็กจะเรียนรูไดจากการจัดกิจกรรมการจัดกิจกรรมจึงควรจัดในลักษณะ “การเลนปนเรียน”เพื่อพัฒนาทั้งดานร่างกาย อารมณ สังคมและสติปญญาไปพรอมๆกัน การสอนคณิตศาสตรใหไดผลดีควรสอนจากสิ่งที่เปนรูปธรรมหรือของจริงจะชวยใหเด็กเกิดความเขาใจอยางแทจริงหากเด็กไดลงมือกระทําดวยตัวเอง
  • การเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป  (High/Scope)  ตามแนวคิดของเพียเจท (Piaget)จะมีหลักการที่สําคัญคือนักเรียนสามารถเรียนรูไดจากการทํางานหรือปฏิบัติดวยตัวของนักเรียนเองโดยครูเปนผูใหการสนับสนุนความคิดของเด็กและกระตุนในการใชเหตุผลสําหรับการแกปญหาของเด็ก   
  • การจัดกิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคป (High/Scope)การจัดกิจกรรมการเรียนรูโดยนักเรียนไดลงมือทําโดยใชหลักปฏิบัติ3ประการคือการวางแผน (Plan)ปฏิบัติตามแผน (Do)และทบทวนการปฏิบัติ (Review)กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อใหนักเรียนมีความเขาใจและเกิดทักษะทางคณิตศาสตร การจัดหมวดหมู   การจําแนกเปรียบเทียบ  การเรียงลําดับ  การรูคาจํานวน เป็นต้น
     

จุดมุงหมายของการสอนคณิตศาสตรในระดับปฐมวัย


  • สงเสริมความเขาใจเกี่ยวกับแนวความคิดทางคณิตศาสตร 
  • สงเสริมความสามารถในการแกปญหา  
  • สงเสริมเทคนิคและทักษะในการคิดคํานวณ 
  • สงเสริมบรรยากาศในการคิดอยางสรางสรรค   
  • สรางเสริมประสบการณใหสอดคลองกับความสามารถสวนบุคคล  

วิธีดําเนินการศึกษาคนควา  

การผูศึกษาคนควาได้กำหนดดําเนินการศึกษาเปนขั้นตอนดังนี้
1. ประชากรและกลุมตัวอยาง
2. เครื่องมือที่ใชในการศึกษาคนควา
3. การสรางและการหาคุณภาพของเครื่องมือ  
4. การเก็บรวบรวมขอมูล  
5. การวิเคราะหขอมูล  
6. สถิติที่ใชในการวิเคราะหขอมูล    


ผลการวิเคราะหขอมูล  

การวิเคราะหขอมูลผูศึกษาคนควาไดเสนอผลการวิเคราะหขอมูลตามลําดับดังนี้
1. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการนําเสนอผลการวิเคราะหขอมูล  
2. ลําดับขั้นตอนในการนําเสนอผลการวิเคราะหขอมูล
3. ผลการวิเคราะหขอมูล

ความมุงหมายของการศึกษาคนควา  

1.เพื่อพัฒนาแผนการจัดประสบการณเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตรชั้นอนุบาล2โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคป(High/Scope)
2.เพื่อหาผลของการเรียนรูดวยแผนการจัดประสบการณเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตรนักเรียนชั้นอนุบาล2โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคป (High/Scope)  
3.เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดแกปญหาของนักเรียนชั้นอนุบาล2ที่ไดรับการจัดประสบกรณโดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคป  (High/Scope)  

สรุปผล  

1.แผนการจัดประสบการณเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตรนักเรียนชั้นอนุบาล2โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคปผลลัพธ์ที่ได้สูงกวาเกณฑที่ตั้งไว
2.นักเรียนชั้นอนุบาล2ไดรับการจัดประสบการณโดยใชกิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคปมีความสามารถในการคิดแกปญหา


อภิปรายผล  

การศึกษาคนควาเรื่องการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตรนักเรียนชั้นอนุบาล2โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคปสามารถอภิปรายผลไดดังนี้
1.แผนการจัดประสบการณเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตรนักเรียนชั้นอนุบาล2โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคป แผนการจัดประสบการณที่ใช้ผานขั้นตอนการสรางอยางเปนระบบและมีวิธีการที่เหมาะสมโดยเริ่มตั้งแตการศึกษาเอกสารหลักสูตร ศึกษาทฤษฎี หลักการและรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน วิเคราะหและกําหนดโครงสรางของทักษะคณิตศาสตร์มีวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณที่เหมาะสมสอดคลองกับจุดประสงคการเรียนรู สาระการเรียนรู หลักการและรูปแบบการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตรนักเรียนชั้นอนุบาล2โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคปที่ผูศึกษาคนควาสรางขึ้นเปนแผนการจัดประสบการณ์ที่มีประสิทธิภาพซึ่งเปนไปตามเกณฑที่ตั้งไว
2.ประสิทธิผลของการเรียนรูดวยแผนการจัดประสบการณเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตรนักเรียนชั้นอนุบาล2โดยใชกิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคป นักเรียนมีความกาวหนาในการเรียนรู้        
3.นักเรียนชั้นอนุบาล2 ที่ไดรับการจัดประสบการณโดยใชกิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคปมีความสามารถในการคิดแกปญหา ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการจัดกิจกรรมเสรีเปนกิจกรรมที่เปดโอกาสใหเด็กเลนอิสระ มีโอกาสคิด แกปญหาใชเหตุผลและฝกปฏิบัติ ผูศึกษาคนควาไดจัดกิจกรรมที่มีความนาสนใจ รวมถึงการจัดสภาพแวดลอมที่เอื้อตอการจัดกิจกรรมและการเรียนรูของนักเรียนให้ผูเรียนไดเรียนรู       ดวยการลงมือกระทํา  เลน  สํารวจ  ทดลอง  จึงทําใหผูเรียนสนุกสนานในการรวมกิจกรรมตลอดเวลา และการมีสวนรวมของผูเรียนอีกทั้งยังกระตุ้นใหเด็กเกิดความอยากรู   อยากทํากิจกรรม  พูดชมเชยให กําลังใจแกเด็กเมื่อเด็กสามารถแกปญหา

ขอเสนอแนะ  

1.ขอเสนอแนะในการนําไปใช
1.1 ครูผูสอนในระดับชั้นอนุบาล2สามารถนําเอาแผนการจัดประสบการณเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตรโดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคปไปใชสอนได  
1.2 ผูบริหารควรสนับสนุนใหครูจัดประสบการณเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตรโดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคใหมากขึ้นเพื่อเปนประโยชนตอการพัฒนาการศึกษาระดับปฐมวัยตอไป
2. ขอเสนอแนะในการศึกษาคนควาครั้งตอไป
2.1ควรศึกษาการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตรโดยใชกิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคปในระดับชั้นที่สูงขึ้นไป
2.2 ควรศึกษาการสงเสริมทักษะทางดานอื่นๆ โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคป