วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 6 วันศุกร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 เวลาเรียน 13.30- 17.30 น.

การบันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 6

 วันศุกร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559( เวลาเรียน 13.30- 17.30 น. )




สัปดาห์นี้ดิฉันไม่ได้เข้าเรียนเนื่องจากมีธุระด่วน จำเป็นต้องเดินทางกลับบ้านต่างจังหวัด

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 5 / วันศุกร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลาเรียน 13.00-17.30 น.

การบันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 5
วันศุกร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลาเรียน 13.00-17.30 น.


เนื้อหาที่เรียน / ความรู้ที่ได้รับ


- อาจารย์แจกกระดาษ A4 คนละ 1 แผ่น ให้ตีตาราง 2 ตาราง
 ตารางที่ 1 ให้ตี 10 ช่อง 2 บรรทัด 
ตารางที่ 2 ให้ตี 10 ช่อง 3 บรรทัด 
       เมื่อทำตารางเสร็จแล้วให้นักศึกษา แรเงาในตารางที่ 1 โดยที่แรเงาได้เพียง 2 ช่อง เท่านั้น และห้ามแรเงาให้แต่ละช่องติดกัน
จากการแลเงาในตารางที่ 1 จะทำให้ได้รูปภายในตารางเพียงแค่ 4 รูปเท่านั้น
ตารางที่ 2 ให้นักเรียนแรเงาช่องในตารางจำนวน 3 ช่อง โดยห้ามแรเงาให้แต่ละช่องติดกัน
ดิฉันสามารถ แรเงาได้เพียง 4 รูป  เราสามารถเพิ่มตารางได้หากไม่เพียงพอ ถ้าเราตัดรูปภาพออกมาไม่ว่าจะอยู่คนละด้านแต่ถ้ามันลักษณะเดียวกันสามารถนำมาประกบกันได้
                              

จากการทำกิจกรรมนี้ แสดงให้เห็นว่า การเรียนการสอนจะเน้นไปทางทักษะกระบวนการคิด และเรื่องรูปทรงทิศทาง การจัดการเรียนการสอนในลักษณะนี้ไม่สามารถนำไปสอนเด็ก ปฐมวัย ได้ เนื่องจากเด็กยังไม่สามารถเข้าใจในการทำ เราสามารถปรับการใช้กิจกรรมนี้ให้เหมาะกับเด็กปฐมวัยคือ เปลี่ยนจากตารางมาเป็น การเล่นบล็อค โดยให้เด็กสามารถเรียนรู้รูปทรงต่างๆ และได้ฝึกให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้การใช้ทิศทางว่าเขาจะต่อในทิศทางไหนถึงจะได้รูปทรงที่แตกต่างไปจากเดิม

เพื่อนนำเสนอ


- บทความ เรื่อง หลักการสอน คณิตศาสตร์ นำเสนอโดย นางสาวภัทรภรณ์ ญาติสังกัด
- ตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์ นำเสนอโดย นางสาว พรชนก ไตรวงศ์ตุ้ม
- วิจัย เรื่อง การวัดค่าประเมินและการเปรียบเทียบ นำเสนอโดย นางสาว ศิริวรรณ สุวรรณสาร


เข้าสู่บทเรียน


อาจารย์ ให้ดูวีดีโอการสอน 


การจัดการเรียนการเรียนรู้แบบ Project Approach

การจัดการเรียนรู้ คุณครูจะเป็นผู้สอบถามเรื่องที่เด็กๆสนใจและนำมาใช้ในการสอน ในวีดีโอจะได้เรื่อง เห็ด ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ผู้ปกครองจะมีส่วนในการจัดการเรียนการสอน โดยคุณพ่อจะมาช่วยสอนให้น้องๆสร้างบ้านเห็ด ในการสร้างบ้านเห็ดนั้นเราสามารถนำสาระวิชาคณิตศาสตร์ไปใช้ได้ เช่น ขนาด รูปทรง ทิศทาง ตำแหน่ง 
เขาจะมีกิจกรรมพาเด็กออกไปหาประสบการณ์นอกสถานที่โดยการไปที่ ซุปเปอร์มาเก็ตใกล้สถานศึกษาโดยมีครูดูแลอย่างใกล้ชิด ในการไปซุปเปอร์มาเก็ตครั้งนี้เราสามารถสอนทักษาทางคณิตศาสตร์ให้กับเขาได้เช่นกัน ในเรื่อง ของการใช้เงิน การทอนเงิน จำนวน รูปทรงต่างๆของเห็น ขนาดที่แตกต่างกัน เขาได้เกิดการเปรียบเทียบ การคิด 


ทักษะที่ได้รับ 

ได้รับทักษะในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
ได้รับทักษะในการอธิบายวิธีการเรียนการสอน
ได้รับทักษะการสอน แบบ  Project Approach มาปรับใช้ในการสอนวิชาคณิตศาสตร์


การนำมาประยุกต์ใช้

สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
สามารถนำความรู้และแนวทางการสอนมาใช้ในการศึกษาต่อได้
สามารถนำไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัยได้ถูกต้อง


ประเมินวิธีการสอน

วิธีการสอนของอาจารย์จะเน้นไปทางให้นักศึกษาเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และลงมือปฏิบัติ การอธิบายเกมของอาจารย์ในครั้งแรกอาจจะมีการไม่เข้าใจเล็กน้อยแต่เมื่อได้ลงมือปฏิบัติทำให้เข้าใจได้ง่ายและสามารถถ่ายทอดต่อไปได้

คุณธรรมจริยธรรม

เข้าเรียนตรงเวลา
แต่งกายสุภาพ
ไม่พูดจาเสียงดังรบกวนเพื่อนห้อง
ตั้งใจเรียนและสนใจการเรียนการสอน
ทำงานส่งตามที่กำหนด
มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม






วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกการเรียนครั้งที่ 4 / วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พศ.2559 เวลาเรียน 13.30-17.30 น.

การบันทึกการเรียนครั้งที่ 4 / วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พศ.2559 

เวลาเรียน 13.30-17.30 น.



เนื้อหาที่เรียน / ความรู้ที่ได้รับ

  • อาจารย์ให้นำกระดาษที่เขียนชื่อตนเองไปติดที่ตารางการตื่นนอน ซึ่งตารางมีทั่งหมดสามช่อง คือ ตื่นก่อนเวลา 07.00 น./ ตื่นเวลา 07.00 น./ ตื่นหลัง 07.00 น.  เมื่อนำไปติดเราก็จะแยกแยะได้ว่ามีคนมาในแต่ละช่องกี่คน แต่ในการจัดการเรียนการสอนแบบนี้เด็กอนุบาลยังไม่สามารถทำได้เนื่องจากเด็กอนุบาลยังไม่เรียนรู้เรื่องเวลา และไม่ทราบว่าตนเองตื่นเป็นเวลากี่โมง ในการจัดประสบการณ์ครั้งนี้สามารถจัดกับเด็กอนุบาลถ้าคุณครูแนะนำให้ผู้ปกครองบันทึกเวลาให้กับนักเรียน ให้ผู้ปกครองอธิบายเวลาให้นักเรียนฟัง เด็กก็จะจดจำและนำมาตอบคุณครูได้ จากที่เราให้ผู้ปกครองบันทึกข้อมูลเพราะว่าเด็กอนุบาลไม่สามารถบันทึกเองได้
  • อาจารย์เขียนตัวเลขบนกระดานหน้าห้องเรียน โดยมีตัวเลขจำนวน 4 ชุด
คือ ชุดที่ 1. 3525  ชุดที่ 2. 11  ชุดที่ 3. 155  ชุดที่ 4. 350
จากตัวเลขทั้งหมดนี้อาจารย์ให้นักเรียนทายว่าเกี่ยวข้องกับอาจารย์อย่างไร 
ชุดที่ 1. ป้ายทะเบียนรถของอาจารย์ 2. วันเกิดของอาจารย์ 3. ส่วนสูงของอาจารย์  4. ที่อยู่ของอาจารย์ 
จากกิจกรรมนี้ทำให้เห็นว่าตัวเลขอยู่ในชีวิตประจำวันของพวกเรา
  • อาจารย์นำปฏิทินตารางวันมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน การที่เราจะทำปฏิทินนั้นเราควรคำนึงถึงเด็กอนุบาลคือไม่ใช้สีสันสะท้อนแสง ทำสีให้ตรงกับวันที่ ทนทาน ประหยัด จากการทำกิจกกรมนี้ ถ้าเรานำไปสอนเด็กเด็กจะได้ร่วมทำกิจกรรมคือ 1. เด็กได้ติดตัวเลข 2. จำตัวเลขตามลำดับได้ 3. สามารถจัดหมวดหมู่ได้  4. เรียนรู้ลำดับ วันที่ เวลา 5. บอกวันที่ผ่านมาได้และวันที่จะมาถึงได้     
  • อาจารย์ตั้งคำถามว่า เกมการศึกษามีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ เกมการศึกษามี 8 ประเภท คือ
 1. เกมจับคู่
 2. เกมภาพตัดต่อ
 3. เกมจัดหมวดหมู่
 4. เกมวางภาพต่อปลาย
 5. เกมเรียงลำดับ
 6. เกมศึกษารายละเอียดของภาพ
 7. เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์
 8. เกมพื้นฐานการบวก
  • อาจารย์ตั้งคำถาม กิจกรรมหลักของเด็กปฐมวัยมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ กิจกกรมหลักสำหรับเด็กปฐมวัยมี 6 กิจกรรมคือ
 1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
 2.กิจกรรมสร้างสรรค์
 3.กิจกรรมเสรี
 4.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
 5.กิจกรรมกลางแจ้ง
 6.กิจกรรมเกมการศึกษา

  • เพื่อนนำเสนอ 
  1. วิจัยเรื่องการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (นางสาววนิดา สาเมาะ)
  2. โทรทัศน์ครู เรื่อง คณิตปฐมวัยตัวเลขกับเด็กปฐมวัย (นางสาวปรีชยา ชื่นแย้ม)
  3.วิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม (นางสาวเรณุกา บุญประเสริฐ)
  4.บทความ เรียนคณิตศาสตร์อย่างไรให้สนุก

เข้าสู่บทเรียน  

จำนวน
- การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
- การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
- การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับ

สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐานค.ป.3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป.3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป.4.1 เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป.5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกียวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ



  • นำเสนอของเล่นที่เสริมประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์


ของเล่นที่นำมาเสนอคือตาชั่ง 2 แขน 

ช่วยเสริมประสบการณ์ด้านความคิด การประสานสัมพันธ์มือกับตา ได้เรียนรู้การเปรียบเทียบ การวัด


ทักษะที่ได้รับ 


- ทักษะการสอนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์
- ทักษะการเรียนรู้
- ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- ทักษะการพูด

การนำมาประยุกต์ใช้

- สามารถนำกิจกรรมการเรียนการสอนมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
- สามารถนำกิจกรรมการเรียนการสอนไปปรับใช้กับวิชาอื่นได้อย่างเหมาะสม
- ได้รับความรู้เพิ่มเติม
- สามารถนำทักษะการสอนของอาจารย์มาใช้สอนเด็กได้ ในอนาคต


ประเมินวิธีการสอน
 

การเรียนสอนของอาจารย์เข้าใจง่ายและให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง

คุณธรรมจริยธรรม

- เข้าเรียนตรงเวลา
- ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
- มีส่วนร่วมในกิจกรรม
- ช่วยเหลือเพื่อนในห้อง
- ไม่พูดจาหยาบคาย

การประเมิน

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังที่อาจารย์พูด ส่งงานตามที่อาจารย์การนำหนด ไม่ส่งเสียงดัง มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
ประเมินเพื่อน  : เข้าเรียนตรงเวลา ไม่ส่งเสียงดัง ตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์ : แต่งกายสุภาพ สอนเข้าใจง่าย มีกิจกรรมให้นักศึกษามีส่วนร่วม มีตัวอย่างการเรียนการสอนมาให้นักศึกได้เรียนรู้ มีการวางแผนการสอนไว้ล่วงหน้า




วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกการเรียนการสอนครั้งที่3 วันศุกร์ ที่ 29 มกราคม พ.ศ.2559 เวลาเรียน 13.30-17.30 น.

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่3วันศุกร์ ที่ 29 มกราคม พ.ศ.2559

 เวลาเรียน 13.30-17.30 น.


เนื้อหาที่เรียน ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์แจกกระดาษให้เขียนชื่อตนเองและนำไปแปะหน้าห้องเรียน โดยกระดานจะแบ่งเป็น สองช่อง คือช่องมาและไม่มา จากกิจกรรมนี้สามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันได้ เช่น รู้จำนวนที่อยู่ในห้องเรียนและสามารถบอกได้ว่ามีนักเรียนที่มาจำนวนกี่คน และไม่มาจำนวนกี่คน
จากกิจกกรมนี้ได้เรียนรู้ทักษะ การนับเลข บวกลบเลข บอกจำนวนได้ เขียนเลขฮินดรูอารบิก การเปรียบเทียบ
จากกิจกรรมใช้วิธีการเรียนการสอนที่ใช้ในชีวิตประจำวันไม่ใช่การสอนที่พูดอธิบาย วิธีการสอนข้างต้นจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองและเกิดทักษะกระบวนการคิด

การสอนเด็กปฐมวัย 

การสอนให้เด็กรู้จักตัวเลขหรือเขียนตัวเลขได้
1. คุณครูต้องเขียนให้เด็ก เพราะเด็กยังไม่สามารถเขียนตัวเลขเองได้
2. การสอนให้เด็กรู้จักตัวเลขเราควรสอนแบบรูปธรรมคือ นำบัตรภาพที่เป็นตัวเลขให้เด็กดู
3. ในวัยเด็กที่โตขึ้นมาอีกหน่อย ก็จะมีการเขียนตามเส้นปะและfree hand

 กิจกรรมต่อมาเป็นการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมายไว้


เลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
เลขที่ 2 นำเสนอวิดีโอตัวอย่างการสอน เรื่องเจ้าแกะจอมฉลาด
เลขที่ 4 นำเสนอบทความเรื่อง เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์


เข้าสู่บทเรียนการเรียนการสอน

เรื่อง ความคิดเชิงคณิตศาสตร์ เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พืชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

1. ความคิดเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Thinking)
 จำนวนนับ 1 ถึง 20
 เข้าใจหลักการนับ
 รู้จักตัวเลขฮินดรูอารบิกและตัวเลขไทย
 รู้ค่าของจำนวน
 เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
 การรวมและการแยกกลุ่ม

2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และ แวลา
 เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
 รู้จักเงินเหรียญและธนาบัตร
 เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกเวลา



กิจกรรมต่อมา ร้องเพลงเพื่อเชื่อมโยงกับวิชาคณิตศาสตร์


เพลงสวัสดียามเช้า 

ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า อาบน้ำและมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นหล่า หลั่น ลันลา
หลั่นลา หลั่นล้า

-จากที่ได้ร้องเพลงนี้จะเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับช่วงเวลา เด็กจะรู้ว่าตอนเราอาบน้ำมาโรงเรียนนี่คือตอนเช้า

เพลง สวัสดีคุณครู 

สวัสดีคุณครูที่รัก หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
ยามเช้าเรามาโรงเรียน หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย 

-จากเพลงนี้ ได้เรียนรู้ช่วงเวลา

เพลง จัดแถว 

สองมือเราชูตรง แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายไปข้างหน้า แล้วเอามาอยู่ในท่ายืนตรง 

-จากเพลงนี้ ทำให้เด็กรู้ตำแหน่งส่วนต่างๆของร่างกาย และเรียนรู้การจัดแถว และการเรียงแถว

เพลง ซ้าย-ขวา 

ยืนให้ตัวตรงก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหนหันตัวไปทางนั้นแหละ

-จากเพลงนี้ เด็กจะสามารถรู้ว่าทางซ้าย ทางไหน ขวา



ทักษะที่ได้รับ 

- ทักษะการคิด
-ทักษะการสอน
-ทักษะการวางแผน
-ทักษะการนับ การเข้าใจ บอกจำนวน
-ทักษะการคิดวิเคราะห์

การนำมาประยุกต์ใช้

- สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
- สามารถนำไปจัดประสบการณ์การเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
- สามารถนำเทคนิควิธีการสอนมาใช้ในการสอน
- สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนต่างๆได้


บรรยากาศในห้องเรียน


การสอนของอาจารย์เป็นการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนให้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน อาจารย์จะมีการตั้งคำถามเพื่อให้ได้คิดวิเคราะห์และช่วยกันหาวิธีหรือคำตอบ อาจารย์ใช้คำถามที่เป็นปลายเปิด ในการเรียนการสอนเพื่อนๆทุกคนตั้งใจฟังแต่อาจจะมีอาการง่วงนอนบ้างเนื่องจากเป็นเวลากลางวันแต่อาจารย์ก็นำกิจกรรมการร้องเพลงมาเสริมในการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาผ่อนคลาย

ประเมิน


ประเมินตัวเอง
ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน จดบันทึกการเรียนการสอน มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม

ประเมินเพื่อน
 ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน ช่วยกันตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์
 พูดเสียงดังฟังชัด สอนเข้าใจ ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน