การบันทึกการเรียนครั้งที่ 4 / วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พศ.2559
เวลาเรียน 13.30-17.30 น.
เนื้อหาที่เรียน / ความรู้ที่ได้รับ
- อาจารย์ให้นำกระดาษที่เขียนชื่อตนเองไปติดที่ตารางการตื่นนอน ซึ่งตารางมีทั่งหมดสามช่อง คือ ตื่นก่อนเวลา 07.00 น./ ตื่นเวลา 07.00 น./ ตื่นหลัง 07.00 น. เมื่อนำไปติดเราก็จะแยกแยะได้ว่ามีคนมาในแต่ละช่องกี่คน แต่ในการจัดการเรียนการสอนแบบนี้เด็กอนุบาลยังไม่สามารถทำได้เนื่องจากเด็กอนุบาลยังไม่เรียนรู้เรื่องเวลา และไม่ทราบว่าตนเองตื่นเป็นเวลากี่โมง ในการจัดประสบการณ์ครั้งนี้สามารถจัดกับเด็กอนุบาลถ้าคุณครูแนะนำให้ผู้ปกครองบันทึกเวลาให้กับนักเรียน ให้ผู้ปกครองอธิบายเวลาให้นักเรียนฟัง เด็กก็จะจดจำและนำมาตอบคุณครูได้ จากที่เราให้ผู้ปกครองบันทึกข้อมูลเพราะว่าเด็กอนุบาลไม่สามารถบันทึกเองได้
- อาจารย์เขียนตัวเลขบนกระดานหน้าห้องเรียน โดยมีตัวเลขจำนวน 4 ชุด
จากตัวเลขทั้งหมดนี้อาจารย์ให้นักเรียนทายว่าเกี่ยวข้องกับอาจารย์อย่างไร
ชุดที่ 1. ป้ายทะเบียนรถของอาจารย์ 2. วันเกิดของอาจารย์ 3. ส่วนสูงของอาจารย์ 4. ที่อยู่ของอาจารย์
จากกิจกรรมนี้ทำให้เห็นว่าตัวเลขอยู่ในชีวิตประจำวันของพวกเรา
- อาจารย์นำปฏิทินตารางวันมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน การที่เราจะทำปฏิทินนั้นเราควรคำนึงถึงเด็กอนุบาลคือไม่ใช้สีสันสะท้อนแสง ทำสีให้ตรงกับวันที่ ทนทาน ประหยัด จากการทำกิจกกรมนี้ ถ้าเรานำไปสอนเด็กเด็กจะได้ร่วมทำกิจกรรมคือ 1. เด็กได้ติดตัวเลข 2. จำตัวเลขตามลำดับได้ 3. สามารถจัดหมวดหมู่ได้ 4. เรียนรู้ลำดับ วันที่ เวลา 5. บอกวันที่ผ่านมาได้และวันที่จะมาถึงได้
- อาจารย์ตั้งคำถามว่า เกมการศึกษามีกี่ประเภท อะไรบ้าง
1. เกมจับคู่
2. เกมภาพตัดต่อ
3. เกมจัดหมวดหมู่
4. เกมวางภาพต่อปลาย
5. เกมเรียงลำดับ
6. เกมศึกษารายละเอียดของภาพ
7. เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์
8. เกมพื้นฐานการบวก
- อาจารย์ตั้งคำถาม กิจกรรมหลักของเด็กปฐมวัยมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2.กิจกรรมสร้างสรรค์
3.กิจกรรมเสรี
4.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
5.กิจกรรมกลางแจ้ง
6.กิจกรรมเกมการศึกษา
- เพื่อนนำเสนอ
2. โทรทัศน์ครู เรื่อง คณิตปฐมวัยตัวเลขกับเด็กปฐมวัย (นางสาวปรีชยา ชื่นแย้ม)
3.วิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม (นางสาวเรณุกา บุญประเสริฐ)
4.บทความ เรียนคณิตศาสตร์อย่างไรให้สนุก
เข้าสู่บทเรียน
จำนวน- การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
- การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
- การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับ
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐานค.ป.3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป.3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป.4.1 เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป.5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกียวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
- นำเสนอของเล่นที่เสริมประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์
ของเล่นที่นำมาเสนอคือตาชั่ง 2 แขน
ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการสอนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์
- ทักษะการเรียนรู้
- ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- ทักษะการพูด
การนำมาประยุกต์ใช้
- สามารถนำกิจกรรมการเรียนการสอนมาใช้ในชีวิตประจำวันได้- สามารถนำกิจกรรมการเรียนการสอนไปปรับใช้กับวิชาอื่นได้อย่างเหมาะสม
- ได้รับความรู้เพิ่มเติม
- สามารถนำทักษะการสอนของอาจารย์มาใช้สอนเด็กได้ ในอนาคต
ประเมินวิธีการสอน
การเรียนสอนของอาจารย์เข้าใจง่ายและให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองคุณธรรมจริยธรรม
- เข้าเรียนตรงเวลา- ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
- มีส่วนร่วมในกิจกรรม
- ช่วยเหลือเพื่อนในห้อง
- ไม่พูดจาหยาบคาย
การประเมิน
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังที่อาจารย์พูด ส่งงานตามที่อาจารย์การนำหนด ไม่ส่งเสียงดัง มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา ไม่ส่งเสียงดัง ตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์ : แต่งกายสุภาพ สอนเข้าใจง่าย มีกิจกรรมให้นักศึกษามีส่วนร่วม มีตัวอย่างการเรียนการสอนมาให้นักศึกได้เรียนรู้ มีการวางแผนการสอนไว้ล่วงหน้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น