วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559

การบันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 11 วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ.2559 เวลาเรียน13.30 - 17.30 น

การบันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 11 

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ.2559  เวลาเรียน13.30 - 17.30 น.



เนื้อหา/ความรู้ที่ได้รับ

เพื่อนแต่ละกลุ่มนำเสนอการสอนหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย ดั้งนี้

กลุ่มที่ 1 ชนิดของหน่วยบ้าน (วันจันทร์)
ขั้นนำ คำคล้องจองบ้าน
ขั้นสอน แยกประเภทของบ้าน (บ้านที่ทำด้วยไม้,บ้านไม่ใช้ไม้)
ขั้นสรุป จำนวนบ้านไม้และบ้านที่ไม่ใช้ไม้มีจำนวนเท่าไหร่

กลุ่มที่ 2 การดูแลรักษาความสะอาดของหน่วยรถ (วันพุธ)
ขั้นนำ คำคล้องจองการดูแลรักษาความสะอาดของรถ
ขั้นสอน วิธีการดูแลรักษาความสะอาดของรถ
ขั้นสรุป จำนวนการดูแลรักษาความสะอาดของรถ

กลุ่มที่ 3 การดูแลรักษาความสะอาดของหน่วยเครื่องใช้ไฟฟ้า (วันพุธ)

กลุ่มที่ 4 การดูแลรักษาความสะอาดของหน่วยร่างกาย (วันพุธ)
ขั้นนำ คำคล้องจองการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย
ขั้นสอน ให้เด็กดูภาพและแยกการดูแลรักษาร่างกายภายนอกและไม่ใช่ภายนอก
ขั้นสรุป ครูถามเด็กว่ามีวิธีการดูแลรักษาร่างกายอย่างไรบ้าง

กลุ่มที่ 5 การดูแลรักษาความสะอาดของหน่วยบ้าน (วันพุธ)
ขั้นนำ ครูให้เด็กดูภาพบ้านที่ไม่สะอาดโดยใช้กระดาษปิดรูปภาพแล้วค่อยๆเปิดให้เด็กดูเพื่อให้เด็กตื่นเต้น
ขั้นสอน ครูให้เด็กดูรูปภาพอุปกรณ์ทำความสะอาดบ้านแล้วบอกวิธีการใช้อุปกรณ์นั้นๆ
ขั้นสรุป ครูถามเด็กว่ามีวิธีการดูแลรักษาบ้านอย่างไรอีกบ้าง

กลุ่มที่ 6 ประโยชน์ของร่างกาย (วันพฤหัสบดี)
ขั้นนำ ครูเล่านิทานเรื่องทุกส่วนล้วนสำคัญ
ขั้นสอน ครูให้เด็กดูรูปภาพต่างๆ
ขั้นสรุป ครูสรุปถึงประโยชน์ของร่างกาย

ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการแก้ปัญหา
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการสอน
  • ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
การนำมาประยุกต์ใช้
  • สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
  • สามารถนำไปเป็นแนวทางการเรียนการสอนต่อไปได้
  • สามารถนำความรู้ไปต่อยอดการศึกษาได้

ประเมินตนเอง
  • เข้าเรียนตรงเวลา
  • แต่งกายถูกระเบียบ
  • จดบันทึกการเรียนการสอน
  • มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน           
ประเมินเพื่อน
  • มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
  • เตรียมงานที่ได้รับมอบหมายมาทุกกลุ่ม
  • ตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์
  • มีการวางแผนการเรียนการสอนมาล่วงหน้า
  • สอนเข้าใจง่ายชัดเจน 
  • แนะนำนักเรียนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน

การบันทึกการเรียนการสอนครั้งที่10 วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ.2559 เวลาเรียน13.30 - 17.30 น.

การบันทึกการเรียนการสอนครั้งที่10


วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ.2559 เวลาเรียน13.30 - 17.30 น.


เนื้อหา/ความรู้ที่ได้รับ
เพื่อนนำเสนอหน้าชั้นเรียน

นางสาวอันทิรา จำปาเกตุ
นำเสนอวิดีโอตัวอย่างการสอน เรื่อง ครูมืออาชีพคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันของประเทศอังกฤษ
นางสาวอรณัฐ สร้างสกุล
นำเสนอวิจัย เรื่อง การจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสเซอรี่ 

เข้าสู่กิจกรรมการเรียนการสอน
อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอเรื่องที่ได้รับมอบหมายการสอนหน้าชั้นเรียน
กลุ่มที่นำเสนอวันนี้ ดังนี้
หน่วยรถ (วันอังคาร) ลักษณะของรถ


หน่วยร่างกาย (วันจันทร์) ส่วนประกอบของร่างกาย


หน่วยเครื่งใช้ไฟฟ้า (ลักษณะ) ลักษณะของเครื่องใช้ไฟฟ้า


กลุ่มของดิฉัน หน่วยสัตว์ (วันจันทร์) ประเภทของสัตว์ต่างๆ


ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการสอน 
  • ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  • ทักษะการสังเกต
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการแก้ปัญหา
การนำมาประยุกต์ใช้
  • สามารถนำมาปรับใช้ในการศึกษาต่อได้
  • นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
  • นำแนวทางการเรียนการสอนมาใช้ต่อยอดการศึกษาได้

ประเมินตนเอง
  • เข้าเรียนตรงเวลา
  • เเต่งตัวถูกระเบียบ
  • มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน 
ประเมินเพื่อน
  • สนใจการเรียนการสอน
  • มีการจดบันทึกเนื้อหาต่างๆ
  • ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
ประเมินอาจารย์
  • แต่งกายสุภาพ 
  • เข้าสอนตรงเวลา
  • มีการวางแผนการสอนมาล่วงหน้า



วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9 วันศุกร์ ที่ 25 มีนาคม 2559( เวลาเรียน 13.30- 17.30 น. )

การบันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9
  วันศุกร์ ที่ 25 มีนาคม 2559( เวลาเรียน 13.30- 17.30 น. )


เนื้อหาที่เรียน / ความรู้ที่ได้รับ


เพื่อนนำเสนอ 
นางสาววิจิตรา เสริมกลิ่น นำเสนอบทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเรื่อง เสริมการเรียนเลขให้ลูกวัยอนุบาล
นางสาว ศิริพร พันโญศรันยา นำเสนอวีดีโอการสอน
นางสาว จีรวรรณ งามขำ นำเสนอวิจัย

เข้าสู่การเรียนการสอน 
อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มตามที่ได้แบ่งไว้เมื่อสัปดาห์ก่อน พร้อมกับแบ่งหัวข้อในการสอนในวันต่างๆที่ตัวเองได้รับผิดชอบ ให้แต่ละกลุ่มอธิบายแนวการสอนของแต่ละกลุ่ม โดยต้องมี ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป
ก่อนจะเริ่มทำการสอนเราต้องมีการเตรียมเด็กให้พร้อม ในการเรียนการสอนต้องนำประสบการณ์ใหม่ให้สอดคล้องกับประสบการณ์เดิม เพื่อให้เด็กมีความคิดที่ต่อยอด ในการเรียนการสอนควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้อย่างเต็มที่ ซักถามเด็กอยู่ตลอด การสอนหน่วยต่างๆต้องบูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ทักษะที่ได้รับ


  • ได้รับทักษะการสอนเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้อย่าเต็มที่
  • ทักษะการเตรียมตัวและวางแผนการสอน
  • ทักษะการเขียนแผนประสบการณ์


การนำมาประยุกต์ใช้


  • นำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ 
  • นำความรู้ที่ได้รับมาต่อยอดทางการศึกษา 
  • นำไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นๆได้


ประเมินวิธีการสอน 


  • การเรียนการสอนเข้าใจง่ายและชัดเจนเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พูดคุยซักถาม


คุณธรรมจริยธรรม


  • แต่งกายถูกระเบียบ
  • เข้าเรียนตรงเวลา




วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 8 วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2559 เวลา13.30 - 17.30 น.

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 8
 วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2559  เวลา13.30 - 17.30 น.


เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
                อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาทำ Mind Mapping เป็นกลุ่มโดยให้นักศึกษาคิดหัวข้อเรื่องที่สนใจมา1หัวข้อโดยอาจารย์ให้นักศึกษาระดมความคิดตามหัวข้อที่นักศึกษากำหนด และคิดหัวข้อย่อย 5 หัวข้อเเล้วเลือกหัวข้อย่อยของตนเองมา 1 หัวข้อ เพื่อคิดวิธีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบใดให้เชื่อมโยงกับวิชาคณิตศาสตร์

ทักษะที่ได้รับ
  •    ทักษะการคิดวิเคราะห์                     
  •    ทักษะการแก้ปัญหา
  • ทักษะการสอน
การนำมาประยุกต์ใช้
  •  นำมาจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กในอนาคต
  • สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิชาอื่นได้

คุณธรรมจริยธรรม
  •  ร่วมใช้ความคิดกับผู้อื่น
  •  มาเรียนตรงเวลา
  • ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
  • แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ

การประเมิน
ตนเอง: ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน  คอยตอบคำถามตลอด
เพื่อน: ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถาม
ครูผู้สอน: แต่งกายสุภาพ อธิบายเจาะลึกเข้าใจง่าย พูดเสียงดังฟังชัด ตั้งใจสอนนักศึกษา



วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 7 วันศุกร์ ที่ 4 มีนาคม 2559( เวลาเรียน 13.30- 17.30 น. )

การบันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 7
วันศุกร์ ที่ 4 มีนาคม 2559( เวลาเรียน 13.30- 17.30 น. )


เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมที่1 

ประดิษฐ์ลังกระดาษ

วิธีการทำ
-  ตัดกล่องลังขนาดความกว้าง 7นิ้ว ความยาว 9 นิ้ว ให้ได้มากที่สุดในลังที่ให้ กลุ่มของดิฉันทำได้ทั้งหมด 5 แผ่น
- ตัดกระดาษสีขาวให้ได้ขนาดเท่ากันกับแผ่นลังที่ตัดแล้วคือ 7x9 นิ้ว
- นำกระดาษและแผ่นลังมาติดเข้าด้วยกัน ด้านใดด้านนึง
- นำเส้นขอบมาติดโดยที่ทั้ง5 แผ่นจะแบ่งช่อง2 ช่อง ขนาดความยาว 7 นิ้ว ช่องข้างบน 2 นิ้ว
- นำแผ่นลังที่ติดขอบแล้วมา 3 แผ่น ติดเส้นคั่นกลางลงไปในช่องที่ยาว 7 นิ้ว โดยวัดเป็น 3.5 นิ้ว

เราสามารถนำไปปรับใช้กับการเรียนการสอนเรื่องวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ เช่นสอนเรื่องการนับ การเปรียบเทียบ เป็นต้น

รูปภาพเพิ่มเติมการเรียนการสอน

                       

กิจกรรมที่ 2 

แบ่งกลุ่ม เป็นกลุ่มละ5 คน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 4 คน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 3 คน 1 กลุ่ม รวมทั้งหมดคือ 21 คน
โดยให้แต่ละกลุ่มคิดหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ 4 สาระ คือ 1.ตัวเรา 2. ธรรมชาติ 3. บุคคล 4.สถานที่
คุณครูยกตัวอย่างของกลุ่มที่มีหัวข้อเรื่องรถ สามารถสอนอะไรได้บ้างเช่น ส่วนประกอบ ประเภท ลักษณะ การดูแลรักษา ประโยชน์ โทษ ทุกอย่างเกี่ยวข้องกับวิชาคณิตศาสตร์ทั้งหมด

กิจกรรมที่ 3 รังไข่เป็นอะไรได้อีกเยอะ

ครูยกตัวอย่างการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้รังไข่ ที่เราเคยเห็นอยู๋ตามชีวิตประจำวันนั้นสามารถนำมาสอนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ด้วย
สอนให้เด็กรู้จักการนับจำนวน การเปรียบเทียบ ขนาด เป็นต้น

เด็กส่วนใหญ่ในวัยนี้จะไม่สามารถรู้ความหมายของจำนวน แต่รู้จักตัวเลข ในการเรียนการสอนเราควรสอนให้เด็กเห็นภาพจริง ๆ คือ ใช้ภาพแทนตัวเลข ปั้นดินน้ำมัน หรือ ใช้รังไข่ที่อาจารย์ยกตัวอย่าง

เพื่อนนำเสนอ

1. นางสาวปฐมพร จันวิมล นำเสนอบทความเรื่อง คณิตศาสตร์ปฐมวัยกับการเล่นรอบตัว
2. นางสาวกสมา แดงฤทธิ์ นำเสนอวีดีโอตัวอย่างการสอนเรืองการบวกลบ
3. นางสาวนภัสสร คล้ายพันธ์ นำเสนอวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่2 โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮสโคป

ดิฉันนางสาวนภัสสร คล้ายพันธ์ นำเสนอวิจัย

ทักษะที่ได้รับ

  1. ได้รับทักษะใหม่ๆในการสอนคณิตศาสตร์ โดยการใช้สิ่งของรอบตัว
  2. มีทักษะในการนำเสนอหน้าชั้นเรียนมากยิ่งขึ้น
  3. ได้รับทักษะในการทำงานร่วมกันเป็นทีม


การนำมาประยุกต์ใช้

  1. นำสิ่งของที่ไม่ได้ใช้แล้วมาทำให้เกิดประโยชน์
  2. ใช้วิธีการนำเสนอมาประยุกต์ใช้ในวิชาอื่นๆต่อไป
  3. ความรู้ทั้งหมดที่ได้สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้และยังสามารถเอาไปต่อยอดการศึกษาในอนาคตได้อย่างดีเยี่ยม

ประเมินวิธีการสอน

  • การเรียนการสอนของอาจารย์เน้นการสอนที่เน้นให้นักเรียนเข้าใจภายในคาบที่สอนเลย เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ร่วมคิดและซักถามได้ พร้อมให้ผู้เรียนลงมือทำและเรียนรู้ด้วยตนเองโดยที่อาจารย์คอยแนะนำวิธีอย่างถูกต้อง


คุณธรรมจริยธรรม 

  1. ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  2. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 
  3. ไม่ส่งเสียงดังรบกวนขณะทำการเรียนการสอน
  4. แต่งกายถูกระเบียบ
  5. ตั้งใจเรียนสนใจที่อาจารย์สอน






วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

ใบงานวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

การจัดสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางคณิตศาสตร์


เรื่อง หิน

  • ใช้กิจกรรมกับเด็กอย่างไร



ให้เด็กๆสำรวจประโยชน์ของหิน พร้อมนับจำนวน เปรียบเทียบจำนวน


แยกประเภทและการบูรณาการกับวิชาต่างๆ

 เรียนรู้รูปทรง ขนาด 

  • วัดเเละประเมินผลอย่างไร
      

  • ใช้จัดกิจกรรมกับเด็กอย่างไร 
ให้เด็กบอกความเหมือนความแต่งต่างระหว่างของ 2 สิ่ง

  • วัดเเละประเมินผลอย่างไร
สังเกตจากการทำกิจกรรม เด็กสามารถบอกความเหมือนความเเตกต่างระหว่างของ 2 สิ่งได้



  การเรียนการสอนแบบโครงการ คือ การสืบค้นหาข้อมูลอย่างลึกตามหัวเรื่องที่เด็กสนใจควรแก่การเรียนรู้ โดยปกติการสืบค้นจะทำโดยเด็กกลุ่มเล็กๆ ที่อยู่ในชั้นเรียนหรือเด็กทั้งชั้นร่วมกัน หรือบางโอกาสอาจเป็นเพียงเด็กคนใดคนหนึ่งเท่านั้น จุดเด่นของโครงการ คือ พยายามที่จะค้นหาคำตอบจากคำถามที่เกี่ยวกับ หัวเรื่องไม่ว่าคำถามนั้นจะมาจากเด็ก จากครู หรือจากเด็กและครูร่วมกันก็ตาม 
จุดประสงค์ของโครงการ คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับหัวเรื่องมากกว่าการเสาะแสวงหาคำตอบที่ถูกต้องเพื่อตอบคำถามที่ครูเป็นผู้ถาม 

ลักษณะโครงสร้างของการปฏิบัติโครงการ 5 ข้อ  คือ
            1.การอภิปรายกลุ่ม ในงานโครงการครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้เด็ก และช่วยให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน การพบปะสนทนากันในกลุ่มย่อยหรือกลุ่มใหญ่ทั้งชั้นทำให้เด็กมีโอกาสที่จะอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
              2.การศึกษานอกสถานที่  สำหรับเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องเสียเงินเป็นจำนวนมาก  เพื่อพาเด็กไปยังสถานที่ไกลๆ ประสบการณ์ในระยะแรกครูอาจพาไปทัศนศึกษานอกห้องเรียน ได้เรียนรู้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียน  เช่น ร้านค้า  ถนนหนทาง  ป้ายสัญญาณงานบริการต่างๆ ฯลฯ  จะช่วยให้เด็กเข้าโลกที่แวดล้อม มีโอกาสพบปะกับบุคคลที่มีความรู้เชี่ยวชาญในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ  ซึ่งถือเป็นประสบการณ์เรียนรู้ขั้นแรกของงานศึกษาค้นคว้า 
              3.การนำเสนอประสบการณ์เดิม   เด็กสามารถที่จะทบทวนประสบการณ์เดิมในหัวเรื่องที่ตนสนใจ  มีการอภิปราย  แสดงความคิดเห็นในประสบการณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกับเพื่อน  รวมทั้งแสดงคำถามที่ต้องการสืบค้นในหัวข้อเรื่องนั้นๆ นอกจากนี้เด็กแต่ละคนสามารถที่จะเสนอประสบการณ์ที่ตนมีให้เพื่อนในชั้นได้รู้ด้วยวิธีการอันหลากหลายเสมือนเป็นการพัฒนาทักษะเบื้องต้น  ไม่ว่าจะเป็นการเขียนภาพ  การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์  การเล่น บทบาทสมมติ และการก่อสร้างแบบต่างๆ 
              4.การสืบค้น  งานโครงการเปิดกว้างให้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลอย่าง หลากหลายตามหัวเรื่องที่สนใจ เด็กสามารถสัมภาษณ์พ่อแม่ผู้ปกครองของตนเอง บุคคลในครอบครัว เพื่อนนอกโรงเรียน สามารถหาคำตอบของตนด้วยการศึกษานอกสถานที่ สามารถสัมภาษณ์วิทยากรท้องถิ่นที่มีความรอบรู้ในหัวเรื่อง อาจสำรวจวิเคราะห์วัตถุสิ่งของด้วยตนเอง เขียนโครงร่าง หรือใช้แว่นขยายส่องวัตถุต่างๆ หรืออาจใช้หนังสือในชั้นเรียนหรือในห้องสมุดทำการค้นคว้า
              5. การจัดแสดง  การจัดแสดงทำได้หลายรูปแบบ  อาจใช้ฝาผนังหรือป้าย  จัดแสดงงานของเด็กเป็นการแลกเปลี่ยนความคิด  ความรู้ที่ได้รับจากการสืบค้น   แก่เพื่อนในชั้น  ครูสามารถให้เด็กในชั้น ได้รับทราบความก้าวหน้าในการสืบค้นโดยจัดให้มีการอภิปรายหรือการจัดแสดง ทั้งจะเป็นโอกาสให้เด็กและครูได้เล่าเรื่องงานโครงการที่ทำแก่ผู้มาเยี่ยมเยียนโรงเรียนอีกด้วย

.....การประเมินผลโครงการ.....
  • แบบประเมิน
  • แสดงความคิดเห็น
  • เสนอแนะ
  • บทสะท้อนตนเอง ของเด็ก ครู ผู้ปกครอง

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 6 วันศุกร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 เวลาเรียน 13.30- 17.30 น.

การบันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 6

 วันศุกร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559( เวลาเรียน 13.30- 17.30 น. )




สัปดาห์นี้ดิฉันไม่ได้เข้าเรียนเนื่องจากมีธุระด่วน จำเป็นต้องเดินทางกลับบ้านต่างจังหวัด

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 5 / วันศุกร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลาเรียน 13.00-17.30 น.

การบันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 5
วันศุกร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลาเรียน 13.00-17.30 น.


เนื้อหาที่เรียน / ความรู้ที่ได้รับ


- อาจารย์แจกกระดาษ A4 คนละ 1 แผ่น ให้ตีตาราง 2 ตาราง
 ตารางที่ 1 ให้ตี 10 ช่อง 2 บรรทัด 
ตารางที่ 2 ให้ตี 10 ช่อง 3 บรรทัด 
       เมื่อทำตารางเสร็จแล้วให้นักศึกษา แรเงาในตารางที่ 1 โดยที่แรเงาได้เพียง 2 ช่อง เท่านั้น และห้ามแรเงาให้แต่ละช่องติดกัน
จากการแลเงาในตารางที่ 1 จะทำให้ได้รูปภายในตารางเพียงแค่ 4 รูปเท่านั้น
ตารางที่ 2 ให้นักเรียนแรเงาช่องในตารางจำนวน 3 ช่อง โดยห้ามแรเงาให้แต่ละช่องติดกัน
ดิฉันสามารถ แรเงาได้เพียง 4 รูป  เราสามารถเพิ่มตารางได้หากไม่เพียงพอ ถ้าเราตัดรูปภาพออกมาไม่ว่าจะอยู่คนละด้านแต่ถ้ามันลักษณะเดียวกันสามารถนำมาประกบกันได้
                              

จากการทำกิจกรรมนี้ แสดงให้เห็นว่า การเรียนการสอนจะเน้นไปทางทักษะกระบวนการคิด และเรื่องรูปทรงทิศทาง การจัดการเรียนการสอนในลักษณะนี้ไม่สามารถนำไปสอนเด็ก ปฐมวัย ได้ เนื่องจากเด็กยังไม่สามารถเข้าใจในการทำ เราสามารถปรับการใช้กิจกรรมนี้ให้เหมาะกับเด็กปฐมวัยคือ เปลี่ยนจากตารางมาเป็น การเล่นบล็อค โดยให้เด็กสามารถเรียนรู้รูปทรงต่างๆ และได้ฝึกให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้การใช้ทิศทางว่าเขาจะต่อในทิศทางไหนถึงจะได้รูปทรงที่แตกต่างไปจากเดิม

เพื่อนนำเสนอ


- บทความ เรื่อง หลักการสอน คณิตศาสตร์ นำเสนอโดย นางสาวภัทรภรณ์ ญาติสังกัด
- ตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์ นำเสนอโดย นางสาว พรชนก ไตรวงศ์ตุ้ม
- วิจัย เรื่อง การวัดค่าประเมินและการเปรียบเทียบ นำเสนอโดย นางสาว ศิริวรรณ สุวรรณสาร


เข้าสู่บทเรียน


อาจารย์ ให้ดูวีดีโอการสอน 


การจัดการเรียนการเรียนรู้แบบ Project Approach

การจัดการเรียนรู้ คุณครูจะเป็นผู้สอบถามเรื่องที่เด็กๆสนใจและนำมาใช้ในการสอน ในวีดีโอจะได้เรื่อง เห็ด ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ผู้ปกครองจะมีส่วนในการจัดการเรียนการสอน โดยคุณพ่อจะมาช่วยสอนให้น้องๆสร้างบ้านเห็ด ในการสร้างบ้านเห็ดนั้นเราสามารถนำสาระวิชาคณิตศาสตร์ไปใช้ได้ เช่น ขนาด รูปทรง ทิศทาง ตำแหน่ง 
เขาจะมีกิจกรรมพาเด็กออกไปหาประสบการณ์นอกสถานที่โดยการไปที่ ซุปเปอร์มาเก็ตใกล้สถานศึกษาโดยมีครูดูแลอย่างใกล้ชิด ในการไปซุปเปอร์มาเก็ตครั้งนี้เราสามารถสอนทักษาทางคณิตศาสตร์ให้กับเขาได้เช่นกัน ในเรื่อง ของการใช้เงิน การทอนเงิน จำนวน รูปทรงต่างๆของเห็น ขนาดที่แตกต่างกัน เขาได้เกิดการเปรียบเทียบ การคิด 


ทักษะที่ได้รับ 

ได้รับทักษะในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
ได้รับทักษะในการอธิบายวิธีการเรียนการสอน
ได้รับทักษะการสอน แบบ  Project Approach มาปรับใช้ในการสอนวิชาคณิตศาสตร์


การนำมาประยุกต์ใช้

สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
สามารถนำความรู้และแนวทางการสอนมาใช้ในการศึกษาต่อได้
สามารถนำไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัยได้ถูกต้อง


ประเมินวิธีการสอน

วิธีการสอนของอาจารย์จะเน้นไปทางให้นักศึกษาเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และลงมือปฏิบัติ การอธิบายเกมของอาจารย์ในครั้งแรกอาจจะมีการไม่เข้าใจเล็กน้อยแต่เมื่อได้ลงมือปฏิบัติทำให้เข้าใจได้ง่ายและสามารถถ่ายทอดต่อไปได้

คุณธรรมจริยธรรม

เข้าเรียนตรงเวลา
แต่งกายสุภาพ
ไม่พูดจาเสียงดังรบกวนเพื่อนห้อง
ตั้งใจเรียนและสนใจการเรียนการสอน
ทำงานส่งตามที่กำหนด
มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม






วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกการเรียนครั้งที่ 4 / วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พศ.2559 เวลาเรียน 13.30-17.30 น.

การบันทึกการเรียนครั้งที่ 4 / วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พศ.2559 

เวลาเรียน 13.30-17.30 น.



เนื้อหาที่เรียน / ความรู้ที่ได้รับ

  • อาจารย์ให้นำกระดาษที่เขียนชื่อตนเองไปติดที่ตารางการตื่นนอน ซึ่งตารางมีทั่งหมดสามช่อง คือ ตื่นก่อนเวลา 07.00 น./ ตื่นเวลา 07.00 น./ ตื่นหลัง 07.00 น.  เมื่อนำไปติดเราก็จะแยกแยะได้ว่ามีคนมาในแต่ละช่องกี่คน แต่ในการจัดการเรียนการสอนแบบนี้เด็กอนุบาลยังไม่สามารถทำได้เนื่องจากเด็กอนุบาลยังไม่เรียนรู้เรื่องเวลา และไม่ทราบว่าตนเองตื่นเป็นเวลากี่โมง ในการจัดประสบการณ์ครั้งนี้สามารถจัดกับเด็กอนุบาลถ้าคุณครูแนะนำให้ผู้ปกครองบันทึกเวลาให้กับนักเรียน ให้ผู้ปกครองอธิบายเวลาให้นักเรียนฟัง เด็กก็จะจดจำและนำมาตอบคุณครูได้ จากที่เราให้ผู้ปกครองบันทึกข้อมูลเพราะว่าเด็กอนุบาลไม่สามารถบันทึกเองได้
  • อาจารย์เขียนตัวเลขบนกระดานหน้าห้องเรียน โดยมีตัวเลขจำนวน 4 ชุด
คือ ชุดที่ 1. 3525  ชุดที่ 2. 11  ชุดที่ 3. 155  ชุดที่ 4. 350
จากตัวเลขทั้งหมดนี้อาจารย์ให้นักเรียนทายว่าเกี่ยวข้องกับอาจารย์อย่างไร 
ชุดที่ 1. ป้ายทะเบียนรถของอาจารย์ 2. วันเกิดของอาจารย์ 3. ส่วนสูงของอาจารย์  4. ที่อยู่ของอาจารย์ 
จากกิจกรรมนี้ทำให้เห็นว่าตัวเลขอยู่ในชีวิตประจำวันของพวกเรา
  • อาจารย์นำปฏิทินตารางวันมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน การที่เราจะทำปฏิทินนั้นเราควรคำนึงถึงเด็กอนุบาลคือไม่ใช้สีสันสะท้อนแสง ทำสีให้ตรงกับวันที่ ทนทาน ประหยัด จากการทำกิจกกรมนี้ ถ้าเรานำไปสอนเด็กเด็กจะได้ร่วมทำกิจกรรมคือ 1. เด็กได้ติดตัวเลข 2. จำตัวเลขตามลำดับได้ 3. สามารถจัดหมวดหมู่ได้  4. เรียนรู้ลำดับ วันที่ เวลา 5. บอกวันที่ผ่านมาได้และวันที่จะมาถึงได้     
  • อาจารย์ตั้งคำถามว่า เกมการศึกษามีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ เกมการศึกษามี 8 ประเภท คือ
 1. เกมจับคู่
 2. เกมภาพตัดต่อ
 3. เกมจัดหมวดหมู่
 4. เกมวางภาพต่อปลาย
 5. เกมเรียงลำดับ
 6. เกมศึกษารายละเอียดของภาพ
 7. เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์
 8. เกมพื้นฐานการบวก
  • อาจารย์ตั้งคำถาม กิจกรรมหลักของเด็กปฐมวัยมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ กิจกกรมหลักสำหรับเด็กปฐมวัยมี 6 กิจกรรมคือ
 1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
 2.กิจกรรมสร้างสรรค์
 3.กิจกรรมเสรี
 4.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
 5.กิจกรรมกลางแจ้ง
 6.กิจกรรมเกมการศึกษา

  • เพื่อนนำเสนอ 
  1. วิจัยเรื่องการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (นางสาววนิดา สาเมาะ)
  2. โทรทัศน์ครู เรื่อง คณิตปฐมวัยตัวเลขกับเด็กปฐมวัย (นางสาวปรีชยา ชื่นแย้ม)
  3.วิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม (นางสาวเรณุกา บุญประเสริฐ)
  4.บทความ เรียนคณิตศาสตร์อย่างไรให้สนุก

เข้าสู่บทเรียน  

จำนวน
- การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
- การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
- การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับ

สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐานค.ป.3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป.3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป.4.1 เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป.5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกียวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ



  • นำเสนอของเล่นที่เสริมประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์


ของเล่นที่นำมาเสนอคือตาชั่ง 2 แขน 

ช่วยเสริมประสบการณ์ด้านความคิด การประสานสัมพันธ์มือกับตา ได้เรียนรู้การเปรียบเทียบ การวัด


ทักษะที่ได้รับ 


- ทักษะการสอนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์
- ทักษะการเรียนรู้
- ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- ทักษะการพูด

การนำมาประยุกต์ใช้

- สามารถนำกิจกรรมการเรียนการสอนมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
- สามารถนำกิจกรรมการเรียนการสอนไปปรับใช้กับวิชาอื่นได้อย่างเหมาะสม
- ได้รับความรู้เพิ่มเติม
- สามารถนำทักษะการสอนของอาจารย์มาใช้สอนเด็กได้ ในอนาคต


ประเมินวิธีการสอน
 

การเรียนสอนของอาจารย์เข้าใจง่ายและให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง

คุณธรรมจริยธรรม

- เข้าเรียนตรงเวลา
- ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
- มีส่วนร่วมในกิจกรรม
- ช่วยเหลือเพื่อนในห้อง
- ไม่พูดจาหยาบคาย

การประเมิน

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังที่อาจารย์พูด ส่งงานตามที่อาจารย์การนำหนด ไม่ส่งเสียงดัง มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
ประเมินเพื่อน  : เข้าเรียนตรงเวลา ไม่ส่งเสียงดัง ตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์ : แต่งกายสุภาพ สอนเข้าใจง่าย มีกิจกรรมให้นักศึกษามีส่วนร่วม มีตัวอย่างการเรียนการสอนมาให้นักศึกได้เรียนรู้ มีการวางแผนการสอนไว้ล่วงหน้า